เมนู

อรรถกถาปฐมมิตตามัจจสูตร



พึงทราบอธิบายในปฐมมิตตามัจจสูตรที่ 6.
คำว่า มิตร ได้แก่ มิตรตามโวหาร ด้วยอำนาจการบริโภคอามิสใน
เรือนของกันและกัน. คำว่า อมาตย์ ได้แก่ ผู้ที่ให้การงานที่ควรทำเป็น
ไปร่วมกันในการเชื้อเชิญการปรึกษา และอิริยาบถเป็นต้น. คำว่า ญาติ
ได้แก่ เป็นฝ่ายพ่อตาแม่ยาย. คำว่า สายโลหิต ได้แก่ พี่ชายน้องชาย พี่
สาวน้องสาวและลุงเป็นต้นที่มีโลหิตเสมอกัน.
จบอรรถกถาปฐมมิตตามัจจสูตรที่ 6

6. ทุติยมิตตามัจจสูตร



องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา 4 ประการ



[1494] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์เหล่าชนผู้
เป็นมิตร. . . ให้ดำรงอยู่ ในองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา 4 ประการ
องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา 4 ประการเป็นไฉน คือ พึงให้สมาทาน
ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้
เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม.
[1495] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ
ธาตุไฟ ธาตุลม พึงมีความแปรเป็นอื่นไปได้ ส่วนอริยสาวกผู้ประกอบด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีความแปรเป็นอื่นไปได้

เลย ความแปรเป็นอย่างอื่นในข้อนั้นดังนี้ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อม
ใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... จักเข้า
ถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานหรือปิตติวิสัย ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอ
ทั้งหลายพึงยังเขาเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ในศีลที่
พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.
[1496] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ
ธาตุไฟ ธาตุลม พึงมีความแปรเป็นอย่างอื่นไปได้ ส่วนอริยสาวกผู้ประกอบ
ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่พึงมีความแปรเป็นอย่างอื่นไปได้เลย ความ
แปรเป็นอย่างอื่นในข้อนั้น ดังนี้ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่
แล้ว จักเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ
ที่จะมีได้.
[1497] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์เหล่าชนผู้
เป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต ผู้ที่สำคัญโอวาทว่าเป็นสิ่งที่ตนควรฟัง
พึงยังเขาเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในองค์แห่งธรรมเป็น
เครื่องบรรลุโสดา 4 ประการเหล่านี้.
จบทุติยมิตตามัจจสูตรที่ 7

อรรถกถาทุติยมิตตามัจจสูตร



พึงทราบอธิบายในทุติยมัตตามัจจสูตรที่ 7.
ชื่อว่า ความแปรเป็นอย่างอื่น มีหลายอย่าง คือ ความแปรเป็นอย่าง
อื่นโดยความเลื่อมใส ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยภาวะ ความแปรเป็นอย่างอื่น
โดยคติ ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยลักษณะ ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยการ
เปลี่ยนแปลง" ในความแปรเป็นโดยอย่างอื่นนั้น ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยภาวะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในมหาภูตทั้งหลาย ก็เมื่อปฐวีธาตุที่เชื่อมกัน
โดยความเป็นแท่งทึบ โดยภาวะเป็นทองเป็นต้น ย่อยยับแล้วถึงความเป็นน้ำอยู่
ภาวะในครั้งก่อนก็จะหายไป ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยภาวะก็จะปรากฏอยู่.
ส่วนลักษณะไม่หายไป คือปฐวีธาตุมีความแข็งกระด้างเป็นลักษณะแล และเมื่อ
อาโปธาตุที่สืบต่อโดยอาการที่เปลี่ยนแปลงไป โดยความเป็นรสอ้อยเป็นต้น
ขาดไป ถึงความเป็นแผ่นดินแท่งทึบ ภาวะในครั้งก่อนก็จะหายไป ความแปร
เป็นอย่างอื่นโดยภาวะก็จะยังปรากฏอยู่ แต่ลักษณะจะไม่หายไป อาโปธาตุ
นั้นมีการประสานให้ติดกันเป็นลักษณะ. ก็ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยคตินี้ ใน
ความเป็นแปรเป็นอย่างอื่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในบทนี้ว่า
ความแปรเป็นอย่างอื่น. ก็ความแปรเป็นอย่างอื่นนั้น ย่อมไม่มีแก่อริยสาวก.
ถึงแม้ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยความเลื่อมใส ก็ไม่มีนั่นเอง. เพื่อประกาศ
ผลของความเลื่อมใส พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงความแปรเป็นอย่างอื่น
โดยคติไว้ในบทนี้นั่นเอง. คำที่เหลือในทุก ๆ บทตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาทุติยมิตตามัจจสูตรที่ 7
จบราชการามวรรคที่ 2